เบตาแคโรทีน คือสารตั้งต้นของวิตามินเอ
แหล่งอาหารที่พบ
เบตาแคโรทีน : มักพบมากในแครอท ฟักทอง มะเขือเทศ กล้วย มะม่วงสุก มะละกอสุกและผักใบเขียว
(เบตาแคโรทีน 6 ไมโครกรัมจะให้วิตามิน 1 ไมโครกรัม)
หน้าที่
วิตามิน A เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเซลล์ ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง (ตา จมูก ปาก คอ ช่องคลอด และทวารหนัก)
เป็นวิตามินที่ช่วยในการมองเห็นและการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน รักษาสุขภาพของผิวหนังและเยื่อ เมือก เช่น เยื่อบุทางเดินหายใจ และท่อปัสสาวะ แคโรทีนทำหน้าที่เป็นสารต้านออกชิเดชั่นที่สำคัญในร่างกาย
ปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน
800 ไมโครกรัม
อาการเมื่อขาด
มองเห็นไม่ชัดในเวลากลางคืน ติดเชื้อได้ง่าย ระบบทางเดินหายใจทำงานผิดปกติ เยื่อบุตาขาวแห้งคอแห้ง ผิวหนังแห้ง และอักเสบลามถึงตาดำ ถ้าขาดรุนแรงอาจทำให้ตาบอดได้
อาการเมื่อเกิน
เชื่องซึม ผมร่วง ปวดศีรษะ และอาเจียน ตับและกระดูกถูกทำลาย มีโอกาสแท้งและทารกเกิดมาพิการ ถ้าได้รับแคโรทีนมากๆ อาจทำให้ผิวเป็นสีเหลือง
รายชื่อผักที่มี วิตามินเอสูง
ลำดับ | ชนิด | วิตามินเอ (IU) |
1. | ใบยอ | 43333 |
2. | ใบย่านาง | 30625 |
3. | ตำลึง(ใบและยอดอ่อน) | 21250 |
4. | ผักกูด | 18608 |
5. | มะระ(ยอดอ่อน) | 17167 |
6. | ผักกะสัง | 14167 |
7. | ผักแพว | 13975 |
8. | ผักชีลาว | 13750 |
9. | ผักแว่น | 13055 |
10. | ผักบุ้งขาว | 12166 |
11. | ใบบัวบก | 11447 |
12. | ใบเหลียง | 10962 |
13. | กระเจี๊ยบเปรี้ยว หรือกระเจี๊ยบแดง(ใบ) | 10889 |
14. | ใบแมงลัก | 10833 |
15. | ซะอม(ยอด) | 10666 |
16. | พริกขี้ฟ้าแดง | 10066 |
17. | ผักแพงพวย | 10000 |
18. | ผักปลัง | 9875 |
19. | ขี้เหล็ก(ดอก) | 9316 |
20. | ใบชะพลู | 8221 |
ตารางแสดงคุณค่าทางโภชนาการของอาหารไทย กองโภชนาการ กระทรวงสาธารณสุข
รวบรวมโดยงานส่วนสมุนไพรฝ่ายพัฒนาและส่งเสริมระบบบริการสถาบันการแพทย์
แผนไทย กรมการแพทย์
รายชื่อผักที่มี เบตาแคโรทีนสูง
ลำดับ | ชนิด | เบตาแคโรทีน (MG) |
1. | แค (ยอด) | 8654 |
2. | ใบกระเพรา | 7857 |
3. | ใบแพชชั่นฟรุต (เสาวรส) | 7273 |
4. | ขี้เหล็ก (ใบ) | 7181 |
5. | แครอท | 6994 |
6. | ผักเชียงดา | 5905 |
7. | ผักเตา | 4852 |
8. | ยอดฟักข้าว | 4782 |
9. | ผักติ้ว | 4500 |
10. | ยอดผักแล้ว | 4366 |
11. | ผักจุ่มป่า (กุ่มปลา) | 4086 |
12. | ใบยอ (จ.ปัตตานี) | 3999 |
13. | ผักกะเฉด | 3710 |
14. | สะเดา (ยอด) | 3611 |
15. | ใบเตย | 2987 |
16. | ใบตังโอ๋ | 2722 |
17. | ผักกาดนกเขา | 2557 |
18. | ผักปวยเล้ง | 2520 |
19. | ผักคะน้า | 2512 |
20. | ผักขี้ขวง | 2431 |
21. | มะกอก (ยอดอ่อน) | 2017 |
22. | ผักลิ้น (จ.สงขลา) | 1961 |
23. | ผักกวางตุ้ง | 1810 |
ตารางแสดงคุณค่าทางโภชนาการของอาหารไทย กองโภชนาการ กระทรวงสาธารณสุข
รวบรวมโดยงานส่วนสมุนไพรฝ่ายพัฒนาและส่งเสริมระบบบริการสถาบันการแพทย์
แผนไทย กรมการแพทย์
Cr: มหันตภัยจากการบริโภคของมนุษย์